วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Power Supply



Power Supply

           หรือเรียกภาษาชาวบ้านว่า ตัวจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ หน้าที่ของ Power Supply ไม่ใช้แค่เป็นตัวจ่ายไฟอย่างเดียว จริงๆแล้วหน้าที่หลังของ Power Supply คือตัวแปลงไฟล์ฟ้าจากระบบไฟฟ้าบ้านที่มีแรงไฟฟ้าที่เยอะเกินความต้องการของอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ เช่น ไฟฟ้าบ้านในไทยมีไฟฟ้าอยู่ที่ 220 โวลต์ แต่อุปกรณ์บางชนิดต้องการแค่ 3.3 โวลต์ 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ ตามลำดับ หรือจะพูดง่ายๆคือ Power Supply เป็นตัวแปลงไฟฟ้าให้เหมาะสมกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์นั้นเอง

การพัฒนาของ Power Supply

โดย Power Supply แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ AT และ ATX ซึ้งสำหรับ AT เป็นแบบรุ่นเก่าที่มีสวิชปิดเปิดอยู่ที่ด้านหลัง Power Supply แต่มีปัญหาเวลาปิดเปิดที่สวิช เพราะบางครั้งอุปกรณ์ต้องการไฟจ่ายเลี้ยงอยู่ชั่วขณะหนึ่ง จึงพัฒนามาสู่ ATX ที่สามารถจ่ายไฟได้สม่ำเสมอกว่า โดย รุ่น ATX จะมีส่วนปิดเปิดต่อตรงเข้ากับเมนบอร์ดจึงทำให้ไฟที่ส่งเข้าอุปกรณ์ต่างๆ ที่ยังคงใช้งานอยุ่ได้รับไฟอย่างสม่ำเสมอมากกว่าแบบ AT โดยประเภท Power Supply มีรุ่นอยู่ 3 รุ่นดังนี้ ATX 2.01 แบบ PS/2 , ATX 2.03 แบบ PS/2 และ ATX 2.01 แบบ PS/3

วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557

HDD



HDD คืออะไร

          ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) ถือว่ามีความสำคัญมาก ถ้าหากไม่มีฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์ของคุณจะไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากขาดสื่อหลักที่ใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์

ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เปรียบเสมือนคลังเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีความจุที่ค่อนข้างสูง ภายในฮาร์ดดิสก์จะมีแผ่นจานเหล็กกลมแบบที่ใช้บันทึกข้อมูลวางซ้อนกันเป็นชั้นๆ และยึดติดกับมอเตอร์ที่มีความเร็วในการหมุนหลายพันรอบต่อนาทีโดยมีแขนเล็กๆที่ยื่นออดมา ตรงปลายแขนจะมีหัวอ่านซึ่งใช้สำหรับการอ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนจานแม่เหล็ก การอ่านหรือเขียนข้อมูลของฮาร์ดดิสก์จะใช้หลักการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กที่หัวอ่านขนาดของจานที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop) จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.5 นิ้ว ส่วนถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์ของโน้ตบุ๊คก็ประมาณ 2.5 นิ้ว






SSD คืออะไร

    SSD ย่อมาจาก Solid State Drive คืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่เหมือนกับฮาร์ดดิสก์ เพียงแต่รูปแบบการบันทึกข้อมูลของ SSD จะเป็นการบันทึกข้อมูลแบบ Flash Memory พูดง่ายๆก็เหมือนกับ FlashDrive ที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้นั่นเอง มักนิยมนำมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก Netbook เพราะขนาดของ SSD นี้จะมีขนาดเล็กประมาณ 1.8 - 2.5 นิ้ว

วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Mainboard

 มนบอร์ด (Mainboard)

          เมนบอร์ด (Mainboard) คือ ศุนย์กลางของการเชื่อมต่อสำหรับอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีชิปเซตที่ำทำหน้าที่รับ/ส่งข้อมูลของอุปกรณ์ต่างๆ อีกขั้นหนึ่ง เมนบร์ด (Mainboard)นิยมใช้มาตรฐานการออกแบบ ATX (Advance Technology Extension) ปรับปรุงจากระบบเก่าที่เป็นแบบ Body AT โดยแบบใหม่จะมีการปรับปรุงบริเวณ ซีพียู(CPU)โดยจะย้ายไปไกลพัดลมของแหล่งจ่ายไฟ(Power Supply) ทำให้สามารถระบายความร้อนได้ดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น

และล่าสุดนี้มีการพัฒนาแบบ BTX (Balance Technology Extension) ได้นำพัดลมมาไว้ด้านหน้าเึคสเพื่อนำลมเย็นเข้าไปภายในระบบและนำซีพียู(CPU)มาไว้ด้านหน้าเครื่องเพื่อรับสมเย็นโดยตรง ส่งผลให้ไม่จำเป็นต้องใ้ช้พัดลมที่มีความเร็วรอบสูงและเสียงดัง ปัจจุบันเมนบอร์แบบ BTX ไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์เกือบทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น เคส ฮัตซิงค์

นอกจากเมนบอร์ดมาตรฐาน ATX (Advance Technology Extension) ปัจจุบันยังมีเมนบอร์ดมาตรฐาน Mini-ITX เป็นเมนบอร์ดขนาดเล็กสำหรับคอมพิวเตอร์ทีมีขนาดเล็กเพื่อความบันเทิงหรือ HTPC และเคสก็ออกแบบมาอย่างเหมาะสมเพื่อวาง LCD TV ตัวเมนบอร์จึงมีขนาดเล็กตามไปด้วย เมนบร์ดบอร์ดลักษณะนี้จะรวมทุกอย่างไว้บนเมนบอร์ดและมีเพียง 1 สล็อตเท่านั้น

Form Factor

ฟอร์มแฟคเตอร์ หรือ มาตรฐานในการออกแบบ Mainboard ซึ่งในอดีตจะใช้เป็นแบบ AT(Advanced Technology) แต่ถูกพัฒนาให้เล็กลงก่อนจะมากลายเป็นมาตรฐาน ATX

Mainboard ATX

จะมี slot แบบ PCI 1-3 slot,PCI-Expree x1 หรือ x4 1-3 slot
PCI-Express x16 หรือ 8 สำหรับเสียบการ์ดจอ 1-4 slot (จะมีเฉพาะบางรุ่นเท่านั้นเพื่อรองรับเทคโนโลยี SLI หรือ CrossFire)และslot เสียบ ram 4-6 slot 

Mainboard Micro ATX

เป็น mainboardที่มีขนาดเล็กกะทัดรัดที่มักจะติดตั้งอุปกรณ์ จำพวกการ์ดจอ การ์ดเสียบในรูปแบบของชิป onboard จำนวน slot ของ mainboard รุ่นนี้ก็จะมีจำนวน slot แบบ PCI 1-4 slot ,PCI-Express x1 หรือ x4 1-2 slot ,PCI-Express x16 สำหรับเสียบการ์ดจอ 1-2 slot และ slot เสียบ ram 2-6 slot

Flex ITX หรือ mini PC


เป็น mainboard สำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก กะทัดรัด ซึ่งช่วยในการประหยัดพื้นที่ในการทำงานได้มากขึ้นตัว mainboard จะประกอบไปด้วย PCI 1-2slot

PCI-Expressx1 1-2 slot และช่องเสียบ ram 2-4slot โดยอุปกรณ์ทุกอย่างจะเป็นแบบชิป onboard

ส่วนประกอบของเมนบอร์ดจะประกอบไปด้วย

1.ซ็อกเก็ตซีพียู (CPU Socket)
2.ชิปเซต (Chipset)
3.ซ็อกเก็ตแรม (RAM Socket)
4.สล็อตของการ์ดจอ (Graphic Card Slot)
5.สล็อต PCI (PCI Slot)
6.หัวต่อไดรว์ต่างๆ
7.หัวต่อแหล่งจ่ายไฟ
8.ชิปรอมไบออส (ROM BIOS)
9.หัีวต่อสายสวิตช์ควบคุม
10.พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ

วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Ram



RAM (แรม) ย่อมาจาก Random Access Memory
RAM คือหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ มีความสำคัญมากต่อประสิทธิภาพการทำงานและความเร็วในการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่รับข้อมูลและชุดคำสั่งของโปรแกรมต่างๆ เพื่อส่งไปให้ CPU (Central Processing Unit) ซึ่งเปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ให้ประมวลผลข้อมูลตามต้องการ ก่อนจะแสดงผลการประมวลที่ได้ออกมาทางหน้าจอแสดงผล (Monitor) นั่นเอง
RAM จะทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ ทั้งในแบบของ Input และ Output โดยการเข้าถึงข้อมูลของ RAM นั้น จะเป็นการเข้าถึงแบบสุ่ม หรือ Random Access ซึ่งหมายถึงโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงทุกๆส่วนของหน่วยความจำหรือพื้นที่เก็บข้อมูลได้โดยตรง เพื่อเพิ่มความเร็วในการทำงานและการรับ-ส่งข้อมูล
เนื้อที่ของ RAM ได้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักดังนี้
1. Input Storage Area
ส่วนนี้เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลนำเข้าที่ได้รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Device) เช่น ข้อมูลที่ได้มาจากคีย์บอร์ด โดยข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้ในการประมวลผลต่อไป
2. Working Storage Area 
ส่วนนี้เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผล
3. Output Storage Area
ส่วนนี้เป็นส่วนที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อรอที่จะถูกส่งไปแสดงออกยังหน่วยแสดงผลอื่นที่ผู้ใช้ต้องการ เช่นหน้าจอแสดงผล เป็นต้น
4. Program Storage Area
เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่งชุดดังกล่าว หน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วนนี้ทีละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย ว่าคำสั่งนั้นสั่งให้ทำอะไร จากนั้นหน่วยควบคุมจะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงานดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ หน่วยความจำจะจัดอยู่ในลักษณะแถวแนวตั้ง (CAS:Column Address Strobe) และแถวแนวนอน (RAS:Row Address Strobe) เป็นโครงสร้างแบบเมทริกซ์ (Matrix) โดยจะมีวงจรควบคุมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงจรในชิปเซต (Chipset) ควบคุมอยู่ โดยวงจรเหล่านี้จะส่งสัญญาณกำหนดแถวแนวตั้ง และสัญญาณแถวแนวนอนไปยังหน่วยความจำเพื่อกำหนดตำแหน่งของข้อมูลในหน่วยความจำที่จะใช้งาน
จากหน้าที่และประโยชน์ของ RAM ข้างต้น ยิ่งเราติดตั้ง RAM เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์มาก ประสิทธิภาพและความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลก้จะดีขึ้นและเร็วขึ้นด้วย แต่ทั้งนี้การเลือก RAM ต้องคำนึงถึงความเร็วการรับ-ส่งข้อมูล (BUS) ระบบปฏิบัติการ และความจุของ Slot สำหรับเสียบ RAM ประกอบด้วย
ชนิดของ Ram
D ram 
          คือ เมโมรี่แบบธรรมดาที่สุด ซึ่งความเร็วขึ้นอยู่กับค่า Access Time หรือเวลาที่ใช้ในการเอาข้อมูลในตำแหน่งที่เราต้องการออกมาให้ มีค่าอยู่ในระดับนาโนวินาที (ns) ยิ่งน้อยยิ่งดี เช่น ชนิด 60 นาโนวินาที เร็วกว่าชนิด 70 นาโนวินาที เป็นต้น รูปร่างของ DRAM เป็น SIMM 8 บิต (Single-in-line Memory Modules) มี 30 ขา DRAM ย่อมาจาก Dynamic Random Access Memory

Fast Page DRAM 
          ปกติแล้วข้อมูลใน DRAM จึงถูกเก็บเป็นชุด ๆ แต่ละชุดเรียกว่า Page ถ้าเป็น Fast Page DRAM จะเข้าถึงข้อมูลได้เร็วกว่าปกติสองเท่าถ้าข้อมูลที่เข้าถึงครั้งที่แล้ว เป็นข้อมูลที่อยู่ใน Page เดียวกัน Fast Page DRAM เป็นเมโมรี่ SIMM 32 บิตมี 72ขา (Pentium มีดาต้าบัสกว้าง 64 บิตดังนั้นจึงต้องใส่ SIMM ทีละสองแถวเสมอ)

EDO Ram 
          นำข้อมูลขึ้นมาเก็บไว้ใน Buffer ด้วย เพื่อว่า ถ้าการขอข้อมูลครั้งต่อไป เป็นข้อมูลในไบต์ถัดไป จะให้เราได้ทันที EDO RAM จึงเร็วกว่า Fast Page DRAM ประมาณ 10 % ทั้งที่มี Access Time เท่ากัน เพราะโอกาสที่เราจะเอาข้อมูลติด ๆกัน มีค่อนข้างสูง EDO มีทั้งแบบ SIMM 32 บิตมี 72 ขา และ DIMM 64 บิตมี 144 ขา คำว่า EDO ย่อมาจาก Extended Data Out

SD Ram
          เป็นเมโมรี่แบบใหม่ที่เร็วกว่า EDO ประมาณ 25 % เพราะสามารถเรียกข้อมูลที่ต้องการขึ้นมาได้ทันที โดยที่ไม่ต้องรอให้เวลาผ่านไปเท่ากับ Access Time ก่อน หรือเรียกได้ว่า ไม่มี Wait State นั่นเอง ความเร็วของ SDRAM จึงไม่ดูที่ Access Time อีกต่อไป แต่ดูจากสัญญาณนาฬิกาที่ โปรเซสเซอร์ติดต่อกับ Ram เช่น 66, 100 หรือ 133 MHz เป็นต้น SDRAM เป็นแบบ DIMM 64 บิต มี 168 ขา เวลาซึ้อต้องดูด้วยว่า MHz ตรงกับเครื่องที่เราใช้หรือไม่ SDRAM ย่อมาจาก Sychronous DRAM เพราะทำงาน "sync" กับสัญญาณนาฬิกาบนเมนบอร์ด

DDR
          (Double Data Rate) SDRAM มีขา 184 ขา มีอัตราการส่งข้อมูลเป็น 2 เท่าของความเร็ว FSB ของตัว RAM คือ มี 2 ทิศทางในการรับส่งข้อมูล และมีความเร็วมากกว่า SDRAM เช่น ความเร็ว 133 MHz คูณ 2 Pipline เท่ากับ 266 MHz

RDRAM 
          หรือที่นิยมเรียกว่า RAMBUS มีขา 184 ขา ทำมาเพื่อให้ใช้กับ Pentium4 โดยเฉพาะ(เคยใช้กับ PentiumIII และ Chipset i820 ของ Intel แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากมีปัญหาเรื่องระบบไฟจึงยกเลิกไป) มีอัตราการส่งข้อมูลเป็น 4 เท่าของความเร็ว FSB ของตัว RAM คือ มี 4 ทิศทางในการรับส่งข้อมูล เช่น RAM มีความเร็ว BUS = 100 MHz คูณกับ 4 pipline จะเท่ากับ 400 MHz เป็นเมโมรี่แบบใหม่ที่มีความเร็วสูงมาก คิดค้นโดยบริษัท Rambus, Inc. จึงเรียกว่า Rambus DRAM หรือ RDRAM อาศัยช่องทางที่แคบ แต่มีแบนด์วิทด์สูงในการส่งข้อมูลไปยังโปรเซสเซอร์ ทำให้ความเร็วในการทำงานสูงกว่า SDRAM เป็นสิบเท่า RDRAM เป็นทางเลือกทางเดียวสำหรับเมนบอร์ดที่เร็วระดับหลายร้อยเมกกะเฮิร์ดซ์ มีแรมอีกชนิดหนึ่งที่ออกมาแข่งกับ RDRAM มีชื่อว่า Synclink DRAM ที่เพิ่มความเร็วของ SDRAM ด้วยการเพิ่มจำนวน bank เป็น 16 banks แทนที่จะเป็นแค่ 4 banks

วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2557

CPU

          
CPU หรือ Central Processing Unit คือหัวใจหลักในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จึงขาดซีพียูไม่ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์
กลไกการทำงานของซีพียู
          การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่ หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
ประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานของซีพียู หรือ ความสามารถในการประมวลผล (Processing Power) นั้นขึ้นอยู่กับชนิดหรือรุ่นของซีพียู ปัจจุบันนี้มี CPU อยู่2ค่ายคือ Intel และ AMD 




Intel


1. ซีพียูตระกูล Pentium 4           
           670, 661, 660, 651, 650, 641, 640, 631, 630, 551, 541, 531, 521 [มี Hyper-Threading]524, 519K, 516, 511, 506 [ไม่มี Hyper-Threading]   CPU Single-core มีความเร็วตั้งแต่ 2.66 - 3.80GHz มี Cache L2 ตั้งแต่ 1 - 2MB มี FSB ตั้งแต่ 533 – 800MHz มีระบบประหยัดพลังงาน Intel SpeedStep (ยกเว้น Pentium 551, 541, 531, 521, 524, 519K, 516, 506) รองรับ EM64T มีเทคโนโลยีป้องกันการโจมตีของไวรัส ใช้การผลิตแบบ 90 และ65นาโนเมตร บน LGA775
2. ซีพียูตระกูล Pentium D 
             960, 950, 945, 940, 930, 925, 920, 915, 840, 830, 820, 805  CPU Dual-core มีความเร็วตั้งแต่ 2.8 - 3.60GHz มี Cache L2 ตั้งแต่ 2 - 4MB มี FSB 800MHz ไม่มี Hyper-Threading มีระบบประหยัดพลังงาน Intel SpeedStep (ยกเว้น PentiumD820,805) รองรับ EM64T มีเทคโนโลยีป้องกันการโจมตีของไวรัส ใช้การผลิตแบบ 90 และ 65นาโนเมตร บน LGA775    
3. ซีพียูตระกูล  Pentium  Extreme
             965, 955, 840  CPU Dual-core มีความเร็วตั้งแต่ 3.20 - 3.73GHz มี Cache L2 ตั้งแต่ 2 - 4MB มี FSBตั้งแต่ 800 - 1066MHz มีเทคโนโลยี Hyper-Threading ไม่มีระบบประหยัดพลังงาน รองรับ EM64T มีเทคโนโลยีป้องกันการโจมตีของไวรัส ใช้การผลิตแบบ 90 และ 65นาโนเมตร บน LGA775 
4. ซีพียูตระกูล   Core 2 Duo
             E6700, E6600, E6400, E6300, E7600, E7500, E7400, E7300, E7200, E8600, E8500, E8400  CPU Dual-core มีความเร็วตั้งแต่ 1.86 – 3.33GHz มี Cache L2 ตั้งแต่ 2 - 4MB  FSB ตั้งแต่ 1333 - 1066MHz ไม่มีHyper-Threading มีระบบประหยัดพลังงาน Intel SpeedStep รองรับ EM64T มีเทคโนโลยีป้องกันการโจมตีของไวรัส ใช้การผลิตแบบ 45นาโนเมตร บน LGA775 
5. ซีพียูตระกูล  Core 2 Quad
             โปรเซสเซอร์ Intel® Core™2 Quad ซึ่งมีพื้นฐานจากการปฏิวัติทางนวัตกรรมของ Intel® Core™ microarchitecture มอบหน่วยประมวลผลสี่แกนหลักในโปรเซสเซอร์ตัวเดียว นำมาซึ่งประสิทธิภาพและการตอบสนองที่รวดเร็วอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนสำหรับการใช้งานแบบมัลติเธรดและมัลติทาสกิ้งในสภาพแวดล้อมการทำงานที่บ้านและในสำนักงานเวอร์ชั่นล่าสุดของโปรเซสเซอร์นี้สร้างขึ้นจากเทคโนโลยีการผลิต 45nmของ Intel ที่จะนำประโยชน์ที่แตกต่างมากให้กับคุณ เทคโนโลยีนี้ใช้ทรานซิสเตอร์ hafnium-infused Hi-k ซึ่งช่วยให้โปรเซสเซอร์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยการเพิ่มความหนาแน่นของทรานซิสเตอร์เป็นสองเท่า เป็นการช่วยเพิ่มสมรรถนะและความเร็วเมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้า และช่วยเพิ่มขนาดแคชเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 50เปอร์เซ็นต์ เทคโนโลยีการผลิต 45nm ของ Intel ช่วยให้โปรเซสเซอร์ Intel Core 2 Duo มอบประสิทธิภาพที่เหนือกว่าโดยไม่ได้ใช้พลังงานมากขึ้น โปรเซสเซอร์ Intel® quad-core นี้เป็นตัวแทนของความเป็นผู้นำอย่างต่อเนื่องของ Intel และเป็นการช่วยผลักดันการใช้งานหน่วยประมวลผลแบบมัลติคอร์
6. ซีพียูตระกูล  Core 2 Extreme 
             CPU Dual-core ความเร็ว 2.93GHz มี Cache L2 ขนาดใหญ่ถึง 4MB FSB 1066MHz ไม่มี Hyper-Threading มีระบบประหยัดพลังงาน Intel SpeedStep รองรับ EM64T มีเทคโนโลยีป้องกันการโจมตีของไวรัส ใช้การผลิตแบบ 45 นาโนเมตร บน LGA775 

7. ซีพียูตระกลู Core i

          Core i3 นั้นใช้เทคโนโลยีของ Intel Graphics Media Accelerator HD เพื่อให้ได้ประสิทธิ์ภาพในการทำงานที่สูงสุด โดย Function ตัวนี้ทำให้เล่น VDO ในระดับ HD ใด้ราบลื่นและความสามารถในด้านการใช้งานของ 3D เพื่อให้การทำงานนั้นดียิ่งขึ้นและยังมี Techology ใหม่ของ Intel คือ Intel Hyper-Threading Techology เพื่อให้การประมวลผล 2 Threads/ 1Core เพื่อรีดกระสิทธิภาพของ CPU ออกมาให้มากที่สุด ทำให้แต่ละ Core ทำงาน 2 งานได้ในเวลาเดียวกัน 

          Core i5 จะคล้ายๆกับ CPU Core i3 แต่จะเพิ่มประสิทธิ์ภาพที่ดีกว่าโดยใช้ Intel Turbo Boost2.0 ขึ้นมาทำให้ CPU ทำงานเร็วกว่าเดิมและประหยัดพลังงานและระบายความร้อนได้ดีกว่าเดิม ในด้านการจัดการ Intel Smart Cache เพื่อการแบ่งการทำงานของ Core CPU ที่ดีขึ้น

           Core i7 จะคล้ายกับ CPU i3,i5 โดยมีการประมวลผม 2 Threads/ 1Core เพื่อรีดกระสิทธิภาพของ CPU ออกมาให้มากที่สุด ทำให้แต่ละ Core ทำงาน 2 งานได้ในเวลาเดียวกัน และ
ยังมี Techology  Intel Turbo Boost2.0 ขึ้นมาทำให้ CPU ทำงานเร็วกว่าเดิมและประหยัดพลังงานและระบายความร้อนได้ดีกว่าเดิม แต่ CPU ตันนี้แน่นอนครับว่ามันก็ต้องแรงกว่า Core i3,i5 อยู่แล้วถ้าพูดถึงการใช้งานที่เน้นเรื่อง Graphics เช่นการสร้างการ์ตูน หรือการตัดต่อวีดีโอต่างๆ รวมไปถึงการเล่นเกมส์ที่เน้น Graphics สูงๆเช่น Watch dog , battlefield 4 , call of duty ghost , GTA V ก็สามารถเล่นได้สบายๆ เพราะเกมส์พวกนี้นอกจากจะเน้น Graphics ของการ์ดจอที่สูงๆแล้วก็ยังต้องการ การประมวลผมที่สูงตามมาด้วย

AMD


AMD Sempron 

เป็นหน่วยประมวลผลแบบ 64 บิต บนซ็อคเกต A, 754939 ซ็อคเก็ต AM2 ซ็อคเก็ต AM3 สำหรับเครื่องพีซีราคาประหยัด

AMD FX 

เป็นหน่วยประมวลผล 4-8 คอร์ตระกูล AMD Bulldozer/Zambezi บนซ็อกเก็ต AM3+ มีการลดขนาดคอร์ลงจาก Phenom II ลง และได้มีการนำระบบโมดูล(Module) มาใช้ ซึ่ง 1 โมดูลจะมี 2 คอร์ขนาดเล็กที่ใช้แคชร่วมกัน นอกจากนั้นยังใส่ชุดคำสั่งใหม่เข้าไปเป็นจำนวนมาก.

AMD A-Series 

เป็นหน่วยประมวล 2-4 คอร์ตระกูล AMD Llano บนซ็อคเก็ต FM1 โดยจะมีระบบกราฟิกในตัวซีพียู

AMD Fusion E/C-Series

 เป็นหน่วยประมวลผล 2 คอร์ โดยจะเป็นแบบฝังติดกับเมนบอร์ดทั้งโน้ตบุ๊คและเดสก์ทอป เน้นความประหยัดไฟ
โดยจะมีระบบกราฟิกในตัวซีพียูด้วย

AMD Athlon II X2 -AMD Athlon II X4 

เป็นหน่วยประมวลผลชนิดแกนคู่-สี่แกน อยู่บนซ็อคเก็ต AM3 และจะเริ่มย้าย
มาลงซ็อคเก็ต FM1 ด้วยสำหรับใช้งานในตลาดทั่วไป โดยเป็นรุ่นที่มีพื้นฐานบนสถาปัตยกรรม Phenom
AMD Opteron 

เป็นหน่วยประมวลผลสำหรับเซิรฟเวอร์หรือเวิร์กสเตชัน

AMD Phenom II X4

 เป็นหน่วยประมวลผลตระกูล Deneb ซึ่งออกจำหน่ายในช่วงไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2553 โดยมีเทคโนโลยี HyperTransport 3.0ซ็อคเก็ต AM3 และ การมีหน่วยความจำระดับ L3 cacheภายในตัวซีพียู
AMD Phenom II X6 เป็นหน่วยประมวลผลตระกูล Thuban ซึ่งออกจำหน่ายในช่วงไตรมาสที่ 2 พ.ศ. 2553 โดยมีเทคโนโลยี HyperTransport 3.0ซ็อคเก็ต AM3 และ การมีหน่วยความจำระดับ L3 cacheภายในตัวซีพียู , AMD Turbo CORE Technology

วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ส่วนประกอบต่างๆของคอมพิวเตอร์

ส่วนประกอบต่างๆของคอมพิวเตอร์

1. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit ; CPU) 

หน่วยประมวลผลกลาง เปรียบได้กับสมองของคอมพิวเตอร์ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการประมวลผลและควบคุมระบบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ให้ทุกหน่วยทำงานสอดคล้องสัมพันธ์กัน




หลายท่านคงสงสัยว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor), ชิป (Chip), โพรเซสเซอร์ (Processor) เหมือนหรือต่างจาก CPU หรือไม่ อย่างไร? คำตอบก็คือเหมือนกัน จะเรียกชื่ออะไรก็ได้ เนื่องจากส่วนประกอบภายในเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อนจำนวนมาก มีทรานซิสเตอร์ประกอบกันเป็นวงจรหลายล้านตัว แต่ละชิ้นมีความกว้าง 0.35 ไมครอน (ขณะที่เส้นผมคนเรามีเส้นผ่าศูนย์กลาง 100 ไมครอน ผ่านกรรมวิธีการผลิตที่สะอาดยิ่งกว่าความสะอาดในโรงพยาบาลเสียอีก สำหรับยี่ห้อหรือแบรนด์ ของซีพียูที่ใช้ในปัจจุบัน คือ Intel, AMD และ Cyrix 

หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยหน่วยย่อย ดังนี้

·         หน่วยควบคม (Control Unit)
·         หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit ; ALU)
·         หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)  
การสื่อสารระหว่างหน่วยต่างๆ ใน CPU จะใช้สายสัญญาณที่เรียกว่า Bus Line หรือ Data Bus
หน่วยควบคุม (Control Unit)
หน่วยควบคุมทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของหน่วยทุกๆ หน่วย ใน CPU และอุปกรณ์อื่นที่ต่อพ่วง เปรียบเสมือนสมองที่ควบคุมการทำงานส่วนประกอบต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ เช่น แปลคำสั่งที่ป้อน ควบคุมให้หน่วยรับข้อมูลรับข้อมูลเข้ามาเพื่อทำการประมวลผล ตัดสินใจว่าจะให้เก็บข้อมูลไว้ที่ไหน ถูกต้องหรือไม่ ควบคุมให้ ALU ทำการคำนวณข้อมูลที่รับเข้ามา ตลอดจนควบคุมการแสดงผลลัพธ์ เป็นต้น 


หน่วยคำนวณและตรรกะ (ALU; Arithmetic and Logic Unit)


หน่วยคำนวณและตรรกะ ทำหน้าที่คำนวณทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic operations) และการคำนวณทางตรรกศาสตร์ (Logical operations) โดยปฏิบัติการเกี่ยวกับการคำนวณได้แก่ การบวก (Addition) ลบ (Subtraction) คูณ (Multiplication) หาร (Division) สำหรับการคำนวณทางตรรกศาสตร์ ประกอ[ด้วย การเปรียบเทียบค่าจริง หรือเท็จ


2.หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)




หน่วยความจำหลัก ซึ่งมีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ Main Memory Unit, Primary Storage Unit, Internal Storage Unit เป็นหน่วยที่ใช้เก็บข้อมูล และคำสั่งเพื่อใช้ในการประมวลผล และเก็บข้อมูลตลอดจนคำสั่ง ชั่วคราวเท่านั้น ข้อมูลและคำสั่งจะถูกส่งมาจากหน่วยควบคุม สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 


·         หน่วยความจำสำหรับเก็บคำสั่ง (Program Memory)
·         หน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูลและคำสั่ง (Data & Programming Memory


หน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูลและคำสั่ง (Data & Programming Memory) หรือที่เรียกว่า แรม (RAM; Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูล และคำสั่งจากหน่วยรับข้อมูล แต่ข้อมูลและคำสั่งเหล่านั้นสามารถหายไปได้ เมื่อมีการรับข้อมูลหรือคำสั่งใหม่ หรือปิดเครื่อง หรือกระแสไฟฟ้าขัดข้อง หน่วยความจำแรม เป็นหน่วยความจำที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ จำเป็นจะต้องเลือกซื้อให้มีขนาดใหญ่พอสมควร มิเช่นนั้นจะทำงานไม่สะดวก แรมในปัจจุบันแบ่งได้เป็น

1. SRAM (Static RAM) ทำงานได้โดยไม่ต้องอาศัยสัญญาณนาฬิกา เป็นหน่วยความจำที่สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้เร็วกว่า DRAM เนื่องจากไม่ต้องมีการรีเฟรชอยู่ตลอดเวลา แต่หน่วยความจำชนิดนี้มีราคาแพงและจุข้อมูลได้ไม่มาก จึงนิยมใช้เป็นหน่วยความจำแคลชซึ่งเป็นอุปกรณ์ช่วยเพิ่มความเร็วในการทำงานของ DRAM 
2. DRAM (Dynamic RAM) ทำงานโดยอาศัยสัญญาณนาฬิกามากระตุ้น แต่ก็มีจุดเด่นคือ มีขนาดเล็กกว่า SRAM และสิ้นเปลืองพลังงานน้อยกว่า ยังแบ่งย่อยได้เป็น 
- FPM DRAM (Fast Page Mode Dynamic RAM) 
- EDO RAM (Extended-Data-Out RAM) 
- SDRAM (Synchronous Dynamic RAM) 
- DDR SDRAM (Double Data Rate Synchronous Dynamic RAM)
- RDRAM (Rambus Dynamic RAM)



3.เมนบอร์ด (Mainboard)




เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญรองมาจากซีพียู เมนบอร์ดทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการๆ ทำงานของ อุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส บนเมนบอร์ดประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมายแต่ส่วนสำคัญๆ ประกอบด้วย 

  • 3.1 ชุดชิพเซ็ต

ชุดชิพเซ็ตเป็นเสมือนหัวใจของเมนบอร์ดอีกที่หนึ่ง เนื่องจากอุปกรณ์ตัวนี้จะมีหน้าที่หลักเป็นเหมือนทั้ง อุปกรณ์ แปลภาษา ให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ดสามารถทำงานร่วมกันได้ และทำหน้าที่ควบคุม อุปกรณ์ต่างๆ ให้ทำงานได้ตามต้องการ โดยชิพเซ็ตนั้นจะประกอบด้วยชิพเซ็ตนั้นจะประกอบไปด้วยชิพ 2 ตัว คือชิพ System Controller และชิพ PCI to ISA Bridge 

ชิพ System Controller หรือ AGPSET หรือ North Bridge เป็นชิพที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ อุปกรณ์หลักๆ ความเร็วสูงชนิดต่างๆ บนเมนบอร์ดที่ประกอบด้วยซีพียู หน่วยความจำแคชระดับสอง (SRAM) หน่วยความจำหลัก (DRAM) ระบบกราฟิกบัสแบบ AGP และระบบบัสแบบ PCI 

ชิพ PCI to ISA Bridge หรือ South Bridge จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกันระหว่างระบบบัสแบบ PCI กับอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีความเร็วในการทำงานต่ำกว่าเช่นระบบบัสแบบ ISA ระบบบัสอนุกรมแบบ USB ชิพคอนโทรลเลอร์ IDE ชิพหน่วยความจำรอมไออส ฟล็อบปี้ดิกส์ คีย์บอร์ด พอร์ตอนุกรม และพอร์ตขนาน

ชุดชิพเซ็ตจะมีอยู่ด้วยกันหลายรุ่นหลายยี่ห้อโดยลักษณะการใช้งานจะขึ้นอยู่กับซีพียูที่ใชเป็นหลัก เช่นชุด ชิพเซ็ตตระกูล 430 ของอินเทลเช่นชิพเซ็ต 430FX, 430HX 430VX และ 430TX จะใช้งานร่วมกับซีพียู ตระกูลเพนเทียม เพนเที่ยม MMX, K5, K6, 6x86L, 6x86MX (M II) และ IDT Winchip C6 ชุดชิพเซ็ต ตระกูล 440 ของอิเทลเช่นชิพเซ็ต 440FX, 440LX, 440EX และชิพเซ็ต 440BX จะใช้งานร่วมกับ ซีพียูตระกูลเพนเที่ยมโปร เพนเที่ยมทู และเซลเลอรอน และชุดชิพเซ็ตตระกูล 450 ของอินเทลเช่นชุดชิพเซ็ต 450GX และ 450NX ก็จะใช้งานร่วมกับซีพียูตระกูลเพนเที่ยมทูซีนอนสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับ Server หรือ Workstation นอกจากนี้ยังมีชิพเซ็ตจากบริษัทอื่นๆ อีกหลายรุ่นหลายยี่ห้อที่ถูกผลิตออกมา แข่งกับอินเทลเช่นชุดชิพเซ็ต Apollo VP2, Apollo VP3 และ Apollo mVp3 ของ VIA, ชุดชิพเซ็ต Aladin IV+ และ Aladin V ของ ALi และชุดชิพเซ็ต 5597/98, 5581/82 และ 5591/92 ของ SiS สำหรับซีพียูตระกูลเพนเที่ยม เพนเที่ยม MMX, K5, K6, 6x86L, 6x86MX (M II) และ IDT Winchip C6 ชุดชิพเซ็ต Apollo BX และ Apollo Pro ของ VIA, ชุดชิพเซ็ต Aladin Pro II M1621/M1543C ของ ALi และชุดชิพเซ้ต 5601 ของ Sis สำหรับซีพียูตระกูลเพนเที่ยมทู และเซลเลอรอน ซึ่งชิพเซ้ตแต่ละรุ่น แต่ละยี้ห้อนั้นจะมีจุดดีจุดด้อยแตกต่างกันไป 


  • 3.2 หน่วยความจำรอมไบออส และแบตเตอรรี่แบ็คอัพ
ไบออส BIOS (Basic Input Output System) หรืออาจเรียกว่าซีมอส (CMOS) เป็นชิพหน่วยความจำชนิด หนึ่งที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล และโปรแกรมขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ โดยในอดีต ส่วนของชิพรอมไบออสจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ชิพไบออส และชิพซีมอส ซึ่งชิพซีไปออสจะทำหน้าที่ เก็บข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนชิพซีมอสจะทำหน้าที่ เก็บโปรแกรมขนาดเล็ก ที่ใช้ในการบูตระบบ และสามารถเปลี่ยนข้อมูลบางส่วนภายในชิพได้ ชิพไบออสใช้พื้นฐานเทคโนโลยีของรอม ส่วนชิพซีมอสจะใช้เทคโนโลยีของแรม ดังนั้นชิพไบออสจึงไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้า ในการเก็บรักษาข้อมูล แต่ชิพซีมอส จะต้องการพลังงานไฟฟ้าในการเก็บรักษาข้อมูลอยตลอดเวลาซึ่งพลังงานไฟฟ้า ก็จะมาจากแบตเตอรี่แบ็คอัพที่อยู่บนเมนบอร์ด (แบตเตอรี่แบ็คอัพจะมีลักษณะเป็นกระป๋องสีฟ้า หรือเป็นลักษณะกลมแบนสีเงิน ซึ่งภายในจะบรรจุแบตเตอรรี่แบบลิเธี่ยมขนาด 3 โวลต์ไว้) แต่ตอ่มาในสมัย ซีพียูตระกูล 80386 จึงได้มีการรวมชิพทั้งสองเข้าด้วยกัน และเรียกชื่อว่าชิพรอมไบออสเพียงอย่างเดียว และการที่ชิพรอมไบออสเป็นการรวมกันของชิพไบออส และชิพซีมอสจึงทำให้ข้อมูลบางส่วนที่อยู่ภายใน ชิพรอมไบออส ต้องการพลังงานไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูลไว้ แบตเตอรี่แบ็คอัพ จึงยังคงเป็นสิ่งจำเป็นอยู่จนถึง ปัจจุบัน จึงเห็นได้ว่าเมื่อแบตเตอรี่แบ็คอัพเสื่อม หรือหมดอายุแล้วจะทำให้ข้อมูลที่คุณเซ็ตไว้ เช่น วันที่ จะหายไปกลายเป็นค่าพื้นฐานจากโรงงาน และก็ต้องทำการเซ็ตใหม่ทุกครั้งที่เปิดเครื่อง เทคโนโลยีรอมไบออส ในอดีต หน่วยความจำรอมชนิดนี้จะเป็นแบบ EPROM (Electrical Programmable Read Only Memory) ซึ่งเป็นชิพหน่วยความจำรอม ที่สามารถบันทึกได้ โดยใช้แรงดันกระแสไฟฟ้าระดับพิเศษ ด้วยอุปกรณ์ ที่เรียกว่า Burst Rom และสามาถลบข้อมูลได้ด้วยแสงอุตราไวโอเล็ต ซึ่งคุณไม่สามารถอัพเกรดข้อมูลลงในไบออสได้ ด้วยตัวเองจึงไม่ค่อยสะดวกต่อการแก้ไขหรืออัพเกรดข้อมูลที่อยู่ในชิพรอมไบออส แต่ต่อมาได้มีการพัฒนา เทคโนโลยีชิพรอมขึ้นมาใหม่ ให้เป็นแบบ EEPROM หรือ E2PROM โดยคุณจะสามารถทั้งเขียน และลบข้อมูล ได้ด้วยกระแสไฟฟ้าโดยใช้ซอฟต์แวร์พิเศษ ได้ด้วยตัวเองอย่างง่ายดายดังเช่นที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

  • 3.3 หน่วยความจำแคชระดับสอง
หน่วยความจำแคชระดับสองนั้นเป็นอุปกรณ์ ตัวหนึ่งที่ทำหน้าเป็นเสมือนหน่วยความจำ บัฟเฟอร์ให้กับซีพียู โดยใช้หลักการที่ว่า การทำงานร่วมกับอุปกร์ที่ความเร็วสูงกว่า จะทำให้เสียเวลาไปกับการรอคอยให้อุปกรณ์ ที่มีความเร็วต่ำ ทำงานจนเสร็จสิ้นลง เพราะซีพียูมีความเร็วในการทำงานสูงมาก การที่ซีพียูต้องการข้อมูล ซักชุดหนึ่งเพื่อนำไปประมวลผลถ้าไม่มีหน่วยความจำแคช  

4.ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (Hard Disk )




          เป็นที่สำหรับเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ มีความจุสูงถึงหน่วยเมกะไบต์ จนถึง กิกะไบต์ และมีความเร็วสูงในการทำงาน และ การส่งผ่านข้อมูลมากกว่า Secondary Storage ทั่วไป ซึ่ง Harddisk จะประกอบไปด้วยจาน Disk หรือที่เรียกว่า Platters หลายๆ แผ่นมารวมกัน ซึ่งแต่ละด้านของ Plalter จะถูกปกคลุมไปด้วยสารประกอบ Oxide เพื่อให้สามารถบันทึกข้อมูลได้ Hard Disk ส่วนมากจะอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งไม่สะดวกในการเคลื่อนย้าย บางทีถูกเรียกว่า Fixed Disk 

การทำงานของ Hard Disk ก็จะมีลักษณะคล้ายๆกับแผ่นดิสก์ โดยก่อนที่จะทำการบันทึกข้อมูล จำเป็นจะต้อง Format เพื่อให้มีการกำหนด Track, Cylinder, ต่างๆ ขึ้นมาก่อนเพื่อใช้ในการอ้างอิงตำแหน่ง 

  
นอกจากนี้แล้วมันยังสามารถจัดแบ่ง Partitions กล่าวคือ Hard Disk ตัวหนึ่งสามารถแบ่งได้หลาย Patition ขึ้นอยู่กับการแบ่ง Partition ก่อนการ Format (การกำหนด Partition สามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง FDISK) นอกจากนี้ยังขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ว่าใช้ระบบ PCI หรือไม่ ถ้าไม่ใช้ระบบ PCI ในเครื่องจะมองเห็นฮาร์ดดิสก์ขนาดสูงสุดเพียง 540 MB แต่ถ้าเป็น PCI จะต้องมาตรวจสอบ OS(Operation System) ดูอีกทีว่าใช้อะไร เช่น ถ้าเป็น Windows 95 จะสามารถมองเห็น Hard Disk สูงสุดได้ที่ 1.27 GB ต่อ 1 Partition ซึ่งถ้าเรามี Hard Disk 1 ตัว แต่เป็น 2 GB ก็ต้องจัดแบ่งมันเป็น 2 Partition ถ้าเป็นระบบ Windows 95OSR2 จะสามารถมองเห็นได้เกิน 2 GB เป็นต้น

ระบบควบคุมการทำงานของ Hard Disk ที่มีใช้งานอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ สามารถจำแนกตามต่อต่อประสาน (interface) ได้เป็น 4 ระบบ คือ ระบบ ST-506/412 ระบบ ESDI ระบบ SCSI และระบบ IDE ซึ่งในปัจจุบัน 2 ชนิดแรกไม่มีใช้แล้ว จึงขอกล่าวถึงสองชนิดหลัง ดังนี้


·         SCSI (Small Computer System Interface) เป็นระบบที่นิยมใช้กันมากในขณะนี้ เพราะนอกสามารกสามารถควบคุมฮาร์ดดิสก์แล้ว ยังสามารถควบคุมเส้นทางการส่งถ่ายข้อมูลกับอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีโพรเซสเซอร์อยู่ในตัวเอง ทำให้เป็นส่วนเพิ่มขยายสำหรับแผงวงจรใหม่ และสามารถใช้ควบคุมอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ได้ด้วย เช่น โมเด็ม ซีดีรอม เป็นต้น
·         IDE (Integrated Drive Electronics) เป็นระบบใหม่ที่มีความจุใกล้เคียงกับ SCSI แต่มีราคาต่ำกว่า ปัจจุบันนิยมบรรจุ IDE รวมอยู่ในแผงวงจรของซีพียู ทำให้มีช่องว่างให้ใช้งานอื่นๆ เพิ่มขึ้น
   
      5. ซีดีรอมไดร์ฟ (CD-ROM Drive)

CD-ROM เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่อ่าน ข้อมูล จากแผ่นซีดีรอม และทำการแปลงสัญญาณข้อมูล แล้วส่งไปยังหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ 

การทำงานของ CD-ROM ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกหรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุม ลงไปเรียก "แลนด์" สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก "พิต" ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น 

แผ่นซีดีรอมเป็นสื่อในการเก็บข้อมูลแบบออปติคอล (Optical Storage) ใช้ลำแสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูล แผ่นซีดีรอม ทำมาจากแผ่นพลาสติกเคลือบด้วยอลูมิเนียม เพื่อสะท้อนแสงเลเซอร์ที่ยิงมา เมื่อแสงเลเซอร์ที่ยิงมาสะท้อนกลับไป ที่ตัวอ่านข้อมูลที่เรียกว่า Photo Detector ก็อ่านข้อมูลที่ได้รับกลับมาว่าเป็นอะไรและส่งค่า 0 และ 1 ไปให้กลับซีพียูเพื่อนำไปประมวลผลต่อไป

6. แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply)






แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) เป็นส่วนสำคัญเช่นกัน เพราะถ้าไม่มี แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) แล้วนั้น คอมพิวเตอร์จะทำงานได้อย่างไร แหล่งจ่ายไฟจะมีรูปทรงและการทำงานที่เป็นไปตามระบบปฏิบัติการของ mainboard เช่นกัน แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) แบบ ATX นั้นมีการทำงานที่ดีกว่าและเหนือ กว่าการทำงานด้วยแหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) แบบ AT เพราะการปิดเปิดเครื่อง ด้วยระบบ ATX นั้นจะมีการทำงานด้วย Software เป็นตัวกำหนดการทำงานสำหรับการ ปิดเปิดเครื่อง และเคส ATX นั้นจะมีการให้แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) มาให้ที่มาก กว่าแหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) แบบ AT ส่วนมากที่เคสแบบ ATX ให้มานั้นมักจะ อยู่ที่ 250 Watt ถึง 400 Watt ซึ่งเป็นพลังงานที่มากกว่าระบบ AT ทำให้มีความเสถียรภาพมากขึ้นนั่นเอง